Soi convent[ion]- [3] part act

FULL PROJECT DESCRIPTION HERE.

ACT 1: COLLECTIONS

ACT 1: COLLECTIONS

ACT 2: NEGOTIATIONS

ACT 2: NEGOTIATIONS

ACT 3: REFLECTIONS

ACT 3: REFLECTIONS

ซอยคอนแวนต์เป็นทางเชื่อมระหว่างถนนสีลมและสาทร ซึ่งเป็นถนนเส้นหลักของกรุงเทพ ชื่อของซอยคอนแวนต์สืบเนื่องมาจากโบสถ์และโรงเรียน St. Joseph’s ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2350 ซึ่งทำให้ทางเชื่อมแห่งนี้ครอบคลุมด้วยกำแพงคอนกรีตสูง ยึดครองพื้นที่และแยกสถาบันออกจากการเข้าถึงของสาธารณะ อีกทั้งซอยคอนแวนต์ยังเป็นที่รู้จักในแง่การเป็นย่านการเงิน ธุรกิจและการท่องเที่ยวค้าบริการ ขนาบคู่กับสถานที่สำคัญในตัวซอยอย่างโบสถ์คาทอลิค คาร์เมไลท์ (ชีมืด) ที่เข้าเยี่ยมด้วยการสั่นกระดิ่งหน้าประตูสีฟ้าอ่อน และโบสถ์โปรแตสแตนท์ จัดตั้งขึ้นบนพื้นที่พระราชทานสมัยรัชกาลที่ 5 รวมไปถึงโรงพยาบาลเอกชน (BNH) จัดตั้งโดยชาวอังกฤษผู้ได้รับทุนสนับสนุนจากรัชกาลเดียวกันเพื่อรักษาชาวต่างชาติในปี 2440 โดยในปัจจุบันซอยคอนแวนต์เรียงรายด้วยตึกและอาคารในรูปแบบพื้นที่แกมโฆษณาและออฟฟิศ สลับไปกับพื้นที่ว่างและร้านค้าเก่าใหม่ของผู้จัดทำธุรกิจขนาดเล็ก โดยมีร้านค้าเร่ ปรับเปลี่ยนและเคลื่อนย้ายท่ามกลางอาคารสถาบันเหล่านี้เพื่อค้าขายแก่คนท้องถิ่น

Soi Convent acts as a connection between two major Bangkok thoroughfares (Silom and Sathorn roads). The name derives from St. Joseph’s Convent and School, established in 1907 which occupies the short street with an all-encompassing stature via the concrete walls that separate these institutions from publicly accessible space. Flanked by financial, business, and more nefarious sex tourism districts, the street hosts a Catholic Carmelite monastery which is accessible by ringing a small doorbell on its baby blue facade and a Christian Protestant church which sits on gifted land dating back to King Rama V. A private British hospital (British Nursing Home (BNH)) was granted permission from King Chulalongkorn to begin serving the foreign community in 1897. Currently, a large development under construction hides behind tall corrugated steel walls with promises of mixed-use commercial and office space. Vacant lots and empty storefronts are intermixed with small businesses, some of which have been in operation for decades and others that are newly established. A devoted congregation of street vendors moves in a circadian rhythm amongst the roots of these institutions, serving the local community.